วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2562

วัฒนธรรมจีนด้านต่างๆ

วัฒนธรรมจีนด้านต่างๆ

                วัฒนธรรมจีน  ด้านการแต่งกาย

               ประวัติศาสตร์ของประเทศจีนมีมานานถึง 5 พันปี วัฒนธรรมเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวจีนก็มีมายาวนานไม่แพ้กัน ซึ่งในระยะเวลา 5 พันปีมานั้น  ชาวจีนได้รับอิทธิพลเครื่องแต่งกายจากชนกลุ่มน้อย เผ่าต่าง ๆ ในประเทศจีนรวมถึงวัฒนธรรมการแต่งกายเสื้อผ้าของชาวต่างชาติ ผสมผสานกันจนเป็นลักษณะพิเศษของการแต่งกายชาวจีนในยุคนั้น ๆ ซึ่งการแต่งกายของชาวจีนนั้นมีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนว่าจะมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
สมัยฉิน  (221-220 ปีก่อนคริสต์ศักราช)     เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสมัยฉินได้รับอิทธิพลจากแนวคิดอิ๋นหยางความสมดุลของสรรพสิ่ง กฎแห่งความสมดุลของธรรมชาติ) เนื่องจากยุคสมัยฉินค่อนข้างจะสั้น ดั่งนั้นสีของเสื้อจะเป็นการผสมผสานระหว่างสีเสื้อผ้าที่ฉินซีฮ่องเต้เป็นผู้กำหนดและสีเสื้อผ้าตามประเพณีจารีตของยุคจ้านกั๋ว
เสื้อผ้าผู้ชายสมัยฉินเป็นลักษณะเสื้อคลุมยาว ฉินซีฮ่องเต้ได้กำหนดให้ใช้สีดำเป็นหลักในการตัดเย็บสำหรับเสื้อผ้าพิธีการ โดยเชื่อว่าสีดำเป็นสีที่คู่ควรแก่การได้รับความเคารพ ข้าราชการยศระดับ 3 ขึ้นไปให้ใช้สีเขียวประกอบในการตัดเย็บ ประชาชนทั่วไปใช้สีขาวประกอบในการตัดเย็บ เสื้อผ้าผู้หญิง ฉินซีฮ่องเต้ไม่ได้มีการกำหนดสีในการตัดเย็บเนื่องจากท่านชื่นชอบสีสันความสวยงามของเสื้อผ้าที่นางสนมในวังสวมใส่ จึงเน้นเสื้อผ้าที่มีสีสันสวยหรู ฉูดฉาด


สมัยฮั่น (202 ปีก่อนคริสตศักราช – ค.ศ. 8)   เสื้อผ้าสมัยฮั่น จะประกอบด้วย เสื้อคลุมยาว เสื้อลำลองแบบสั้น เสื้อนวมสั้น  กระโปรง (ผู้หญิง) และ กางเกง (ผู้ชาย) ในยุคนี้ผ้าที่มีลักษณะการถักทอได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก  ดังนั้น คนที่มีเงินในสมัยนั้นจะสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าแพรต่วน ซึ่งมีความสวยงามมาก โดยทั่วไปผู้ชาย จะสวมเสื้อสั้น กางเกงขายาว  และหากฐานะยากจน จะสวมเสื้อแขนสั้นที่ตัดเย็บด้วยผ้าหยาบ  ในส่วนของผู้หญิงในสมัยฮั่นเสื้อผ้ามีตั้งแต่เป็นลักษณะเสื้อและกระโปรงต่อกัน (กี่เพ่า) และแยกเสื้อกระโปรงเป็น 2 ชิ้น  กระโปรงจะมีลวดลายหลากหลายมาก กระโปรงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสมัยนั้น คือ “กระโปรงลายเทพสถิตย์ ”ระดับชั้นของข้าราชการในสมัยฮั่น จะมีหมวกและสายประดับยศเป็นสัญลักษณ์ในการแบ่งชั้นของขุนนาง ซึ่งสมัยนั้น ตำแหน่งอัครเสนาบดีเป็นขุนนางตำแหน่งสูงสุด

สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ย ( ค.ศ.220- ค.ศ.589) สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ย หรือที่เรารู้จักกัน “สมัยสามก๊ก” ก็อยู่ในยุคนี้ สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ยจัดได้ว่าเป็นสมัยที่ศาสนาพุทธและลัทธิเต๋าเฟื่องฟู เครื่องแต่งกายชายหญิง ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ จนถึงประชาชนทั่วไป เสื้อผ้า จะมีลักษณะหลวมยาว และมีเข็มขัดคาด หากเป็นเสื้อผ้าผู้ชายจะมีการเปิดแผงหน้าอกเล็กน้อย ไหล่เสื้อลู่ลง แขนเสื้อกว้าง สวมใส่ดูสบาย (ทั้งนี้แล้วแต่มุมมองของผู้อ่าน เนื่องจากบางท่านก็เห็นว่าแลดูลุ่มล่าม) ในส่วนของเสื้อผ้าผู้หญิง เสื้อกี่เพ่าแลดูเป็นกระโปรงยาวลากพื้น แขนเสื้อกว้าง เข็มขัดจะคาดให้ดูเป็นชั้น ๆ  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสุภาพ และสง่างาม


 สมัยสุ่ย และสมัยถัง  (ค.ศ. 581-ค.ศ. 907)   เสื้อผ้าของสมัยสุ่ยและสมัยถังมีรูปแบบเสื้อผ้าที่มีความใกล้เคียงกันสูง เสื้อผ้าต้นสมัยสุ่ยค่อนข้างจะเรียบง่าย  เสื้อผ้ายังคงมีลักษณะกี่เพ่าหรือเสื้อคลุมยาว เมื่อกษัตริย์สุ่ยหยางขึ้นครองราชย์ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม ซึ่งส่งผลให้เสื้อผ้าในยุคสมัยดังกล่าวได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้สวยงามขึ้นเช่นกัน
เสื้อผ้ากษัตริย์สมัยสุ่ยและถัง  เสื้อผ้าผู้หญิงสมัยสุ่ย

ในสมัยถัง นับได้ว่ามีความเจริญทั้งในด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ดังนั้นเสื้อผ้าในสมัยนี้จัดได้ว่ามีความสวยงามยิ่ง เสื้อผ้าพิธีการของสตรีชั้นสูงจะมีลักษณะเปิดหน้าอก คอเสื้อต่ำ แขนเสื้อยาวและใหญ่ สวมเสื้อกระโปรงที่ทำจากผ้านวม มีผ้าคลุมไหล่ สมัยนั้นเทคนิคสิ่งทอถือว่ามีความล้ำหน้าเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็ได้รับวัฒนธรรมแบบเสื้อผ้าจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานเข้าไว้ด้วยกัน (เกาหลี ,ญี่ปุ่น) ดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่าสมัยถังเป็นยุคที่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก
                                            เสื้อผ้าผู้หญิงสมัยถัง         เสื้อผ้าผู้ชายสมัยถัง


 สมัยซ่ง  (ค.ศ.960 – ค.ศ.1279)  แบบเสื้อผ้าสมัยซ่งยังคงได้รับอิทธิพลตกทอดมาจากสมัยถัง แต่เนื่องจากสมัยนั้นแนวความคิดปรัชญา(ของสำนักขงจื้อ) เฟื่องฟู  พฤติกรรมของผู้คนส่วนใหญ่คล้อยตามแนวคำสอนของท่านขงจื้อ มีรสนิยมชื่นชมในความเป็นธรรมชาติ ส่งผลให้แบบเสื้อผ้าของผู้คนในสมัยซ่งไม่เน้นลวดลายสีฉูดฉาด เครื่องแต่งกายเสื้อผ้าของข้าราชการจะเป็นเสื้อคลุมยาว แขนเสื้อใหญ่  สวมหมวกประจำตำแหน่ง มีการแบ่งสีเสื้อผ้าเพื่อบ่งบอกยศตำแหน่ง ในส่วนของเสื้อผ้าสตรี เป็นลักษณะเสื้อคลุมตัวใหญ่และยาว ช่วงคอตรง  ผ้าในส่วนรักแร้ทั้งสองข้างตัดแยกออกจากกัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เสื้อกั๊กสมัยซ่ง”  แบบเสื้อผ้านี้ได้รับความนิยมในหมู่นางสนมในวังและสตรีทั่วไปในสมัยนั้น
เสื้อกั๊กสมัยซ่ง  เครื่องแต่งกายสตรี


 สมัยเหวี่ยน   (ค.ศ.1206 – ค.ศ.1368)  สมัยเหวี่ยนเป็นสมัยที่มองโกลได้เค้ามายึดครองเมืองจีน แต่ทว่าวัฒนธรรมการแต่งกายยังคงได้รับอิทธิพลจากชาวฮั่นอยู่ ดังนั้นเครื่องแต่งกายในสมัยนี้จึงเป็นการผสมผสานระหว่างกลิ่นอายมองโกลและฮั่น เสื้อผ้าชายหญิงในสมัยเหวี่ยนไม่ได้มีความแตกต่างกันเท่าไหร่นัก ยังคงเป็นลักษณะกี่เพ่าหรือชุดคลุมยาว มีเทคนิคการทอโดยการใช้วัตถุดิบผ้าทอง และขนสัตว์ ในการทอเสื้อผ้า เพื่อเป็นการแบ่งระหว่างการตัดเย็บแบบมองโกล และการตัดเย็บแบบฮั่น ชาวมองโกลจะมีเอกลักษณ์เครื่องแต่งกายที่นอกเหนือจากกี่เพ่ายาวแล้ว ยังนิยมสวมหมวก “กูกู” เสื้อตรงหน้าอก เบ้ไปทางซ้าย ยาวและลึก สวมกระโปรงยาวทับ รองเท้าบูธหนังนิ่ม    หากเป็นเสื้อผ้าสตรีชาวฮั่นโดยทั่วไปแล้วยังคงสืบทอดการแต่งกายสมัยซ่งอยู่ เสื้อตรงหน้าอก เบ้ไปทางขวา มีผ้าคลุมไหล่ สวมกระโปรงจับจีบ สวมรองเท้าเรียบติดพื้น
               เสื้อผ้าบุรุษสมัยเหวี่ยน                  เสื้อผ้าสตรีสมัยเหวี่ยน
สมัยหมิง  (ค.ศ.1368 – ค.ศ.1645) ในสมัยหมิงหรือสมัยแมนจูได้ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูวัฒนธรรมของชาวฮั่น ดังนั้นเครื่องแต่งกายจะมีกลิ่นอายการผสมผสานระหว่างสมัยฮั่น  ถังและซ่ง เสื้อผ้าชายจะเน้นเสื้อคลุมยาว เป็นหลัก ข้าราชการจะเน้นสวมใส่ชุด “ปู่ฝู” สวมหมวกผ้าแพรบาง สวมเสื้อคอกลม ลายผ้าตรงกลางเสื้อคลุมยาวบ่งบอกถึงยศตำแหน่งทางราชการ สมัยนั้นผู้ชายทั่วไปยังนิยมสวมหมวกผ้าแบบสีเหลี่ยมอีกด้วย ในส่วนของชุดแต่งกายสตรี สวมเสื้อกันหนาวที่มีซับในแบบจีน พกผ้าคลุมที่มีไว้พาดไหล่สีแดง  หรือพัด และสวมกระโปรงเป็นต้น
รูปแบบเสื้อผ้าส่วนใหญ่ เช่น เสื้อกั๊กยาว ยังคงลอกเลียนมาจากสมัยถังและซ่ง นางในสมัยหมิงนิยมสวมใส่เสื้อผ้าที่ดูน่าเลื่อมใส สวมเสื้อก๊กเป็นชุดนอก แขนเสื้อแลดูเข้ารูป กระโปรงจีบข้างในสวมกางเกงขายาว ในสมัยหมิงหญิงสาวเริ่มนิยมพันเท้าให้เล็กหรือเรียกกันว่า “เท้ากลีบดอกบัว”
เครื่องแต่งกายชาย สวมหมวกผ้าทรงสี่เหลี่ยม             เสื้อกั๊กและเสื้อผ้าสตรี

สมัยชิง  (ค.ศ.1644 – ค.ศ.1911 )    เครื่องแบบสมัยชิงยังคงได้รับการตกทอดมาจากสมัยหมิง ในขณะเดียวกันก็รับเอาจุดเด่นของแบบเสื้อสมัยฮั่นเข้ามาประยุกต์ด้วย เสื้อผ้าผู้ชายยังคงเน้นเสื้อคลุมยาว เสื้อแจ๊คเก็ตแบบจีน  เสื้อชั้นในแบบยืดลักษณะเป็นเสื้อกล้าม  โกนศรีษะออกครึ่งนึง อีกครึ่งทักเปียยาว เสื้อแจ๊คเก็ตแบบจีนจะสวมทับไว้ด้านนอกของชุดเสื้อคลุมที่หลวมยาว ชุดลักษณะดังกล่าวจัดได้ว่าเป็นชุดพิธีการ ชุดแต่งกายที่เป็นเสื้อและกระโปรงของผู้หญิงสมัยนั้นเป็นลักษณะผสมผสานระหว่างชาวฮั่นกับชาวแมนจู  โดยเฉพาะกี่เพ่าเป็นลักษณะของชาวแมนจูอย่างเห็นได้ชัด นอกเหนือจากนี้ยังมีเสื้อกั๊ก  กระโปรง  ผ้าคลุมไหล่  สายรัดเอว เครื่องแต่งกายต่าง ๆ เรียกได้ว่าถอดมาจากสมัยหมิงหรือแมนจูเลยก็ว่าได้ ประเพณีการรัดเท้ายังคงสืบทอดมาถึงสมัยชิง
เครื่องแต่งกายบุรุษและสตรีสมัยชิง        สภาพเท้าของสตรีที่รัดเท้าเมื่อเอาผ้าพันเท้าออก


 สมัยปฏิวัติซินไฮ่  (ค.ศ.1911-ค.ศ.1949) ในยุคสมัยปฎิวัติซินไฮ่ หรือยุคปฏิวัติราชวงศ์ชิง เครื่องแต่งกายของชาวจีนนับวันยิ่งเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมการแต่งกายแบบชาวตะวันตกเริ่มเข้ามา ทำให้ไม่ว่าจะเป็นชุดเสื้อคลุมยาวหลวมของผู้ชาย กี่เพ่าผู้หญิง เสื้อกั๊ก  กางเกงและกระโปรง ล้วนถูกดัดแปลงผสมผสานระหว่างแบบเสื้อตะวันตกและแบบเสื้อจีน อีกทั้งในยุคดังกล่าวยังได้ถือกำเนิดแบบเสื้อใหม่ในยุคนั้น คือ ชุดฟรอม์จงซาน  ชุด ฟรอม์นักเรียนนักศึกษา ซึ่งได้รับความนิยมกันอย่างกว้างขวาง
ปัจจุบัน แม้วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีนจะไม่สามารถคงความเป็นรูปแบบเอกลักษณ์เครื่องแต่งกายประจำชาติได้อย่างประเทศในแถบอินเดีย เนื่องจากได้รับเอาค่านิยมแบบเสื้อผ้าจากชาวตะวันตกมาเป็นส่วนใหญ่ แต่เราก็ยังคงได้พบเห็นแบบแฟชั่นที่บ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ของชาวจีน เช่น ปกเสื้อคอจีน กี่เพ่า เป็นต้น ซึ่งยังเป็นที่นิยม คงความสวยงามและเป็นแบบเสื้อที่ไม่มีวันตาย

ทรงผมชาวจีน

    ทรงผมสตรีจีนในสมัยโบราณ มีมากมายเป็นร้อยๆ รูปแบบ ซึ่งความงามแต่ละแบบนี้นอกจากแสดงออกได้ถึงความเป็นพิเศษโดดเด่นเฉพาะตัวของแต่ละคนได้แล้ว ยังสามารถบอกเป็นนัยถึงอายุและสถานะทางสังคมของสตรีผู้นั้นได้อีกด้วย
โดยเมื่อยังเล็กก็จะปล่อยธรรมชาติไม่มีการมัดเกล้าผม พออายุได้ประมาณ 11-12 ขวบ ก็จะแบ่งผมออกเป็นซ้ายขวาแยกมัดขึ้นไว้บนศีรษะลักษณะคล้ายเขาแพะ พออายุราว 15-16 ปี ก็จะรวบผมขมวดขึ้นเสียบปิ่นปัก แสดงถึงการบรรลุนิติภาวะเป็นหญิงสาวที่สามารถออกเหย้าออกเรือนได้แล้ว ซึ่งทรงผมพื้นฐานที่นิยมแพร่หลาย ได้แก่
1.แบบวงหรือห่วง ที่มีทั้งแบบประดับระข้างใบหน้าซ้ายขวา หรือตั้งเป็นวงบนศีรษะ จำนวนมากน้อยไม่ตายตัว ซึ่งหากสตรีใดผมน้อยก็ใช้ผมปลอมแทนแล้วเสริมความงามด้วยเครื่องประดับต่างๆ อาทิ ปักปิ่น เสียบมุก ซึ่งการเกล้าเป็นห่วงสูงนั้นมีตั้งแต่หนึ่งไปจนถึงเก้า ถือเป็นทรงผมชั้นสูงที่โดยมากแล้วใช้กับภาพวาดเหล่าเทพธิดานางฟ้า หรือสตรีชั้นสูงในรั้วในวังอย่างพระมเหสี พระสนมเอก ส่วนสาวรุ่นที่ยังไม่ถูกหมั้นหมายยังไม่ได้ออกเรือน ก็สามารถทำได้เช่นกันแต่เครื่องประดับตกแต่งก็จะไม่อลังการเท่า
2. แบบบิดเกลียว เป็นทรงผมที่เกิดขึ้นในยุคปลายสมัยราชวงศ์ฮั่น โดยแบ่งผมออกเป็นส่วนๆ แล้วบิดเกลียวทบไว้บนศีรษะ ทำให้ทรงผมดูมีชีวิตชีวามากขึ้น เป็นที่นิยมของหญิงสาวชนชั้นสูงวัยแรกรุ่นที่ยังไม่ออกเรือน และพบเห็นได้บ่อยๆ จากภาพวาดเกี่ยวกับสตรีในวังสมัยโบราณ
3.แบบทบซ้อน เป็นทรงทั่วไปที่เป็นที่นิยมแพร่หลายและทำกันมายาวนานที่สุด นับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซางโจว ฉินฮั่น สุยถัง มาจนสมัยซ่ง หยวน หมิง และชิง โดยจะเกล้าขมวดผมไว้กลางศีรษะ ด้านข้าง ด้านหน้า หรือจะด้านหลังได้หมด จะรวบไว้เป็นเดี่ยวๆ หรือสองหรือสามก็ได้หมดอีกเช่นกัน โดยมากแล้วจะเป็นทรงผมสำหรับสตรีที่ออกเรือนไปแล้วนิยมเกล้ากัน
4.แบบสมดุล หรือทรงนางกำนัลรับใช้ในวัง เป็นอีกหนึ่งทรงเก่าแก่ที่ตกทอดกันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉินฮั่นเรื่อยมาจนถึงราชวงศ์ชิง โดยจะหวีแยกผมเป็นสองข้างสมดุลกันแล้วมัดเกล้าหรือทำเป็นห่วงระไว้สองข้าง ซึ่งเป็นที่นิยมของสาวรุ่นหญิงชาวบ้านด้วยเช่นกัน และเป็นอีกหนึ่งทรงน่ารักสำหรับเด็กหญิงที่จะมัดเป็นจุกหรือเกล้ารัดแยกไว้สองข้างศีรษะพร้อมกับอาจมีปล่อยปอยผมปรกลงมาระบ่า

ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องทรงผมได้ที่ http://www.jiewfudao.com/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=2


วัฒนธรรมจีน : ด้านอาหาร


อาหารจีน   หมายถึง  อาหารที่ประกอบขึ้นตามวัฒนธรรมของชาวจีน ซึ่งรวมทั้งจีนแผ่นดินใหญ่  ไต้หวัน และ ฮ่องกง ซึ่งมีหลากหลายชนิดตามแต่ละท้องถิ่น โดยทั่วไปนิยมรับประทานอาหารจานผักและธัญพืชเป็นหลัก นอกจากในราชสำนักที่จะมีอาหารประเภทเนื้อ อาหารที่รู้จักกัน  เช่น ก๋วยเตี๋ยว ติ่มซำ  หูฉลาม   กระเพาะปลา   วัฒนธรรมการกินเป็นการกินร่วมกันโดยอุปกรณ์การกินหลัก คือ  ตะเกียบ

วัฒนธรรมจีน :  ด้านดนตรี

    ชาวจีนแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีตามลักษณะของวัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรีนั้น ๆ แบ่งออกเป็น     8 พวก ดังนี้  1. ไม้ (Mu)  2. หนัง (Ko) 3. ไม้ไผ่ (Chu)  4. โลหะ (Kin)  5. น้ำเต้า (Po)  6. หิน (Che)  7. ดิน (tu)  8. เส้นไหม (hien)
  เครื่องดนตรีจำพวกโลหะ ได้แก่ ระฆัง และฆ้องชนิดต่าง ๆ   เครื่องดนตรีจำพวกหิน ได้แก่ ระฆังราว เครื่องดนตรีจำพวกเส้นไหม ได้แก่ Ch’in เป็นเครื่องดนตรีที่มีสาย 7 สายใช้มือดีด Ch’in เป็นเครื่องดนตรีชั้นสูง ใช้เฉพาะพวกขุนนาง และผู้มีการศึกษาสูง สามารถเพิ่มได้ทั้งแบบเดี่ยวและคลอประกอบการขับร้อง เครื่องดนตรีจำพวกไม้ไผ่ ได้แก่ ขลุ่ยชนิดต่าง ๆ ปี่แพนไพท์ (Panpine)  เครื่องดนตรีเป็นก้อนจำพวกดิน ได้แก่ เครื่องเป่าเสียงเหมือนขลุ่ยที่สร้างมาจากดินเหนียว ขนาดพอดีกับฝ่ามือ ภายในเจาะให้เป็นโพรง เจาะรูปิด-เปิด ด้วยนิ้วมือเพื่อให้เกิดระดับเสียงดนตรี  เครื่องดนตรีพวกน้ำเต้า ได้แก่ Sheng เป็นเครื่องดนตรีสำคัญในวงดนตรีจีน Sheng ประกอบด้วย ท่อไม้ 7 ท่อ ติดตั้งอยู่ในผลน้ำเต้าแห้ง ซึ่งจะใช้เป็นที่พักลม แต่ละท่อจะมีลิ้นฝังอยู่ พร้อมทั้งเจาะรูปิด-เปิดแต่ละท่อด้วย เวลาเล่นจะต้องเป่าลมผ่านผลน้ำเต้าแล้วให้ลมเปลี่ยนทิศทางด้วยท่อทั้ง 7 ท่อ เสียงของ Sheng จะคล้ายเสียงออร์แกนลมของดนตรีตะวันตก ทั้งนี้เครื่องดนตรีจีน  เช่น 
ขิมหยาง  หรือ " ขิมฝรั่ง " เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีชนิดหนึ่งของจีน มีเสียงบรรเลงที่ชัดและเพราะ สามารถแสดงได้หลากหลายทั้งบรรเลงเดี่ยว บรรเลงพร้อมกัน หรือบรรเลงประกอบการร้องเพลงหรือการแสดงงิ้วเป็นต้น มีบทบาทสำคัญมากในการบรรเลงดนตรีพื้นเมืองและในวงดนตรีชนชาติ
ขิมหยาง

ผีผา

พิณหลิว

ความเป็นมาและราชวงศ์ต่างๆของจีน

วัฒนธรรมจีนน่ารู้


        ปัจจุบันวัฒนธรรมจีนกำลังเลือนหายไป ซึ่งคนสมัยใหม่มักจะละเลย แม้จะมีการนำมาปฏิบัติอยู่บ้าง แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจขั้นตอนในเรื่องประเพณีต่างๆ จึงทำให้มีการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้อง ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย หากหน่วยงาน หรือส่วนราชการที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ ไม่เผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้อง อาจทำให้วัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามมีความเสื่อมถอยไปเรื่อยๆ จนในที่สุดจะเลือนหายไปตามกาลเวลา วัฒนธรรมจีนที่ดีงาม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรวบรวมให้เป็นหนึ่งเดียว เพราะวัฒนธรรมจีนเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้และเข้าใจโดยถ่องแท้

ความเป็นมาของวัฒนธรรมจีน

     ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งถ่ายทอดไปทั้งการอพยพ การค้า และการยึดครอง

  อารยธรรมจีนเกิดขึ้นครั้งแรกที่ลุ่มแม่น้ำฮวงโห คือที่ราบตอนปลายของแม่น้ำฮวงโหและแม่น้ำแยงซีเกียง อารยธรรมจีนเจริญโดยได้รับอิทธิพลจากภายนอกน้อยเพราะทิศตะวันออกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกและทิศเหนือเป็นทุ่งหญ้า ทะเลทราย และเทือกเขา จีนถือว่าตนเป็นศูนย์กลางของโลก เป็นแหล่งกำเนิดความเจริญ แหล่งอารยธรรมยุคหินใหม่ ที่พบมีอายุประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสต์กาลที่ตำบล ยางเชา เรียกวัฒนธรรมยางเชา มณฑลเฮอหนาน และวัฒนธรรมลุงชาน ที่เมือง ลุงชาน มณฑลชานตุง พบ เครื่องมือ เครื่องใช้ทำด้วยหิน กระดูกสัตว์ เครื่องปั้นดินเผา กระดูกวัว กระดองเต่าเสี่ยงทาย


แบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของจีนได้ ดังนี้


  • สมัยก่อนประวัติศาสตร์ 


(1)ยุคหินเก่า จีนเป็นดินแดนที่มนุษย์อาศัยเป็นเวลานานที่สุดในทวีปเอเชีย หลักฐานที่พบคือ มนุษย์หยวนโหม่ว (yuanmou man) มีอายุประมาณ 1,700,000 ปี ล่วงมาแล้ว พบที่มณฑลยูนนาน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และพบโครงกระดูกมนุษย์ปักกิ่ง

(2)ยุคหินกลาง มีอายุประมาณ 10,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้วใช้ชีวิตกึ่งเร่ร่อน ไม่มีการตั้งหลักแหล่งถาวร มีการพบเครื่องถ้วยชาม หม้อ มีการล่าสัตว์ เก็บ
อาหาร เครื่องมือหินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือ หินสับ ขูด หัวธนู
(3)ยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 6,000 ปี - 4,000 ปีล่วงมาแล้วเริ่มตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชน รู้จักเพาะปลูกข้าวฟ่าง เลี้ยงสัตว์ ทอผ้า ปลูกบ้านมีหลังคา ในยุคหินใหม่นี้มีมนุษย์ทำเครื่องปั้นดินเผาที่สวยงามมากขึ้น และเขียนลายสี
(4)ยุคโลหะ มีอายุประมาณ 4,000 ปีล่วงมาแล้วหลักฐานที่เก่าสุดคือมีดทองแดง แล้วยังพบเครื่องสำริดเก่าที่สุด ซึ่งนำมาใช้ทำภาชนะต่าง ๆเช่น ที่บรรจุไวน์ กระถาง กระจกเงา มีขนาดใหญ่และสวยงาม มากโดยเฉพาะสมัยราชวงค์ชาง และ ราชวงค์โจว
  • สมัยประวัติศาสตร์


(1)ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ (หรือสมัยคลาสสิก) เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงค์ชาง (Shang Dynasty) และสิ้นสุดในสมัยราชวงค์โจว (Chou Dynasty) ประมาณ 1,776 -221 ปีก่อนคริสต์ศักราช จีนมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านปรัชญา เช่น ลัทธิขงจื้อ (Confucianism) ลัทธิเต๋า (Taoism)
(2)ประวัติศาสตร์สมัยจักรวรรดิ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ๋น (Chin Dynasty) เมื่อประมาณ 221 ก่อนคริสต์ศักราช จนกระทั่งถึงตอนปลายของสมัยราชวงศ์ชิง หรือเช็ง  (Ching Dynasty) ซึ่งเป็นราชวงค์สุดท้ายของจีน ในปี ค.ศ. 1912 เป็นช่วงเวลายาวนานกว่า 2,000 ปี เป็นยุคที่จีนผนวกดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลให้รวมอยู่ภายใต้จักรวรรดิเดียวกัน
(3)ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ตอนปลายสมัยราชวงศ์เช็ง( Ching Dynasty ) เป็นต้นมาเป็นยุคที่จีนเผชิญหน้ากับภัยคุกคามจากลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก                 เกิดการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์เช็ง และสถาปนาระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐขึ้นแทนที่ เป็นยุคที่จีนตกต่ำบ้านเมืองระส่ำระสายจนเกิดการปฏิวัติเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมในปี ค.ศ.1949ในที่สุด
(4)ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มตั้งแต่จีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ ในปี ค.ศ.1949 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันอารยธรรมจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีแหล่งอารยธรรมที่สำคัญ 2 แหล่ง คือ
-ลุ่มแม่น้ำฮวงโห พบความเจริญที่เรียกว่า วัฒนธรรมหยางเชา ( Yang Shao Culture )
-ลุ่มน้ำแยงซี ( Yangtze ) บริเวณมณฑลชานตุงพบ วัฒนธรรมหลงซาน ( Lung Shan Culture )   

สมัยประวัติศาสตร์ของจีนแบ่งได้ 4 ยุค

  • ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชาง สิ้นสุดสมัยราชวงศ์โจว
  • ประวัติศาสตร์สมัยจักรวรรดิ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉินหรือจิ๋น จนถึงปลายราชวงศ์ชิงหรือเช็ง
  • ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มปลายราชวงศ์ชิงหรือเช็งจนถึงการปฏิวัติเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม

ราชวงศ์ชาง เป็นราชวงศ์แรกของจีน

-มีการปกครองแบบนครรัฐ
-มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เป็นครั้งแรก พบจารึกบนกระดองเต่า และกระดูกวัว เรื่องที่จารึกส่วนใหญ่เป็นการทำนายโชคชะตาจึงเรียกว่า กระดูกเสี่ยงทาย
-มีความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ

ราชวงศ์โจว

     แนวความคิดด้านการปกครอง เชื่อเรื่องกษัตริย์เป็น โอรสแห่งสวรรค์ สวรรค์มอบอำนาจให้มาปกครองมนุษย์เรียกว่า "อาณัตแห่งสวรรค์"
เริ่มต้นยุคศักดินาของจีน
-เกิดลัทธิขงจื๊อ ที่มีแนวทาง เป็นแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม เน้นความสัมพันธ์และการทำหน้าที่ของผู้คนในสังคม ระหว่างจักรพรรดิกับราษฎร บิดากับบุตร พี่ชายกับน้องชาย สามีกับภรรยา เพื่อนกับเพื่อน เน้นความกตัญญู เคารพผู้อาวุโส ให้ความสำคัญกับครอบครัว เน้นความสำคัญของการศึกษา
-เกิดลัทธิเต๋า โดยเล่าจื๊อ ที่มีแนวทาง เน้นการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ต้องมีระเบียบแบบแผนพิธีรีตองใดใด เน้นปรับตัวเข้าหาธรรมชาติ ลัทธินี้มีอิทธิพลต่อศิลปิน กวี และจิตรกรจีน
-คำสอนทั้งสองลัทธิเป็นที่พึ่งทางใจของผู้คน

ราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน

      จักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่สามารถรวมดินแดนของจีนให้เป็นจักรวรรดิ เป็นครั้งแรกคือ พระเจ้าชิวั่งตี่ หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นผู้ให้สร้าง กำแพงเมืองจีน
-มีการใช้เหรียญกษาปณ์ มาตราชั่ง ตวง วัด

ราชวงศ์ฮั่น

      เป็นยุคทองด้านการค้าของจีน มีการค้าขายกับอาณาจักรโรมัน อาหรับ และอินเดีย โดยเส้นทางการค้าที่เรียกว่า เส้นทางสายไหม( Silk Rood )
-ลัทธิขงจื๊อ คำสอนถูกนำมาใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ
-มีการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการเรียกว่า จอหงวน

ราชวงศ์สุย


    -ยุคแตกแยกแบ่งเป็นสามก๊ก

       -มีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อประโยชน์ในด้านการคมนาคม

    ราชวงศ์ถัง


          -ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมจีน นครฉางอานเป็นศูนย์กลางของซีกโลกตะวันออกในสมัยนั้น   -พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระภิกษุ (ถังซำจั๋ง) เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎก ในชมพูทวีป   -เป็นยุคทองของกวีนิพนธ์จีน กวีคนสำคัญ เช่น หวางเหว่ย หลี่ไป๋ ตู้ฝู้    -ศิลปะแขนงต่างๆมีความรุ่งเรือง

      ราชวงศ์ซ้อง

           -มีความก้าวหน้าด้านการเดินเรือสำเภา
           -รู้จักการใช้เข็มทิศ
           -รู้จักการใช้ลูกคิด
           -ประดิษฐ์แท่นพิมพ์หนังสือ

           -รักษาโรคด้วยการฝังเข็ม

          ราชวงศ์หยวน

             เป็นราชวงศ์ชาวมองโกลที่เข้ามาปกครองจีน ฮ่องเต้องค์แรกคือ   กุบไลข่าน หรือ หงวนสีโจ๊วฮ่องเต้ ชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายมาก เช่น มาร์โคโปโล พ่อค้าชาวเมืองเวนีส อิตาลี

ราชวงศ์หมิงหรือเหม็ง

    -วรรณกรรม นิยมการเขียนนวนิยายที่ใช้ภาษาพูดมากกว่าการใช้ภาษาเขียน มีนวนิยายที่สำคัญ ได้แก่ สามก๊ก ไซอิ๋ว
    -ส่งเสริมการสำรวจเส้นทางเดินเรือทางทะเล
    -สร้างพระราชวังหลวงปักกิ่ง (วังต้องห้าม)

ราชวงศ์ชิงหรือเช็ง

   -เป็นราชวงศ์เผ่าแมนจู เป็นยุคที่จีนเสื่อมถอยความเจริญทุกด้าน
   -เริ่มถูกรุกรานจากชาติตะวันตก เช่น สงครามฝิ่น ซึ่งจีนรบแพ้อังกฤษ ทำให้ต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิง
   -ปลายยุคราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาเข้ามามีอิทธิพลในการบริหารประเทศมาก

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561

STEM เรื่อง สเปรย์สมุนไพร อเนกประสงค์

โครงงาน

เรื่อง สเปรย์ดับกลิ่นจากสมุนไพรอเนกประสงค์




บทที่ 1

•ที่มาและความสำคัญ
         เนื่องจากการที่บ้านของสมาชิกภายในกลุ่มมีกลิ่นอับในบริเวณบ้าน เช่น ห้องครัว ห้องน้ำ ห้องนอน ชั้นวางรองเท้า ตู้เสื้อผ้า และบริเวณต่างๆ ทำให้สมาชิกภายในกลุ่มรู้สึกรำคาญหรือไม่ชอบกลิ่นเหล่านี้ ซึ่งทำให้กลุ่มข้าพเจ้าต้องทำสเปรย์ขึ้นมา เพื่อกำจัดกลิ่นต่างๆที่เหม็นอับ ซึ่งการใช้สเปรย์ที่ขายตามท้องตลาดนั้น อาจมีสารอันตรายปสมอยู่ ดังนั้น การทำความสะอาดห้องน้ำ การพ่นสเปรย์ดับกลิ่นในห้อง อาจเป็าสาเหตุที่ทำให้ป่วย วิธีที่ดีกว่าคือการเปิดประตู หน้าต่าง เพื่อให้มีการหมุนเวียนของอากาศในบ้านเรือน

•วัตถุประสงค์
1.เพื่อลดกลิ่นอับชื้นในบริเวณต่างๆ
2.เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อสเปรย์ลดกลิ่นอับชื้น
3.อาจเป็นแหล่งสร้างเงินในอนาคต

•สมมติฐานของการศึกษา
         จากปัญหาที่ว่า บริเวณบ้านมีกลิ่นเหม็นอับ ซึ่งทำให้สมาชิกในกลุ่มรู้สึกรำคาญหรือไม่ชอบกลิ่นเหล่านี้ จึงทำให้คิดค้นสเปรย์ดับกลิ่นอับจากธรรมชาติ ซึ่งอาจจะทำให้กลิ่นเหม็นอับเหล่านี้มีกลิ่นเหม็นน้อยลงหรือหายไป

•ตัวแปร
-ตัวแปรต้น คือ การผลิตสเปรย์ดับกลิ่นจากสมุนไพร
-ตัวแปรตาม คือ สามารถทำสเปรย์ดับกลิ่นใช้เองได้
-ตัวแปรควบคุม คือ ปริมาณน้ำ ขนาดขวด ปริมาณสมุนไพรที่ใช้

•ขอบเขตของการศึกษา
     วิธีการทำสเปรย์ดับกลิ่น

•นิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการ
หม้อ = pof
เขียง = chopping board 
มีด = knife 
ใบมะกรูด = lime leaf
เปลือกมะกรูด = bergamot
เตาแก๊ส = gas stove
ขวดสเปรย์ = spray bottle
ตะไคร้ = lemon grass
ใบเตย = pandan
ผ้าขาวบาง = some whites
กรรไกร = scissors 
แอลกอฮอล์ = alcohol dilution



บทที่ 2

•เอกสารที่เกี่ยวข้อง
         การศึกษาโครงงานเรื่องสเปรย์ดับกลิ่นสมุนไพรอเนกประสงค์ ได้รวบรวมแนวคิดต่างๆจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1 น้ำเคี่ยวสมุนไพร ทำมาจากเปลือกส้มหรือเปลือกมะนาวและพืชที่ใช้ดับกลิ่นมาสไลด์เป็น
แผ่นบางๆแล้วนำไปต้มใช้ไฟปานกลางต้มไปเรื่อยๆจนได้ที่แล้วนำมาใส่ภาชนะที่เตรียมไว้แล้วนำเทียนมาวางด้านบน
อ่านได้ต่อที่: https://home.kapook.com/view187800.html
2.2สรรพคุณของเปลือกส้ม
     1.สามารถนำมาทำเครื่องหอมต่างๆได้
     2.ใช้ไล่มดได้
     3.ใช้ขัดเงาของใช้พวกสแตนเลส
     4.ใช้สูดดมเมื่อเกิดการเวียนหัว
     5.เปลือกส้มที่แห้งแล้วสามารถนำไปจุดหรือเผาไฟไล่ยุ่งได้
     6.เปลือกส้มบางชนิดสามารถนำมาทำอาหารได้
อ่านต่อได้ที่: http://sukkaphap-d.com/14-สรรพคุณ-ประโยชน์ของส้ม



บทที่3

•วัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา
สูตร สูตรที่ 1 ตะไคร์
        สูตรที่ 2 ใบเตย
        สูตรที่ 3 เปลือกและใบมะกรูด
        สูตรที่ 4 เปลือกส้มและน้ำส้มสายชู

•อุปกรณ์
ตะไคร์ 20 กรัม
ใบเตย 20 กรัม
เปลือกและใบมะกรูดรวมกัน 20 กรัม
เปลือกส้ม 30 กรัม
น้ำส้มสายชู 80 มิลลิลิตร
แอลกอฮอล์เจือจาง(70%) 180 มิลลิลิตร
น้ำเปล่า 20 มิลลิลิตร
มีด
เขียง
หม้อ
ผ้าขาวบาง
ถ้วย
ขวดสเปรย์
เตาแก๊ส
กรรไกร
ภาชนะที่มีฝาปิด

สูตรที่ 1 ตะไคร้
วิธีการทดลอง
1.นำตะไคร้มาซอย แล้วนำไปตำให้พอมีกลิ่นออก
2.เปิดแก๊สแล้วเบาไฟให้อ่อนที่สุด
3.นำตะไคร้และแอลกอฮอล์ใส่ในหม้อ แล้วใส่น้ำตามลงไป เคี่ยวไปเรื่อยๆจนมีสีและกลิ่นออก

สูตรที่ 2 ใบเตย
วิธีการทดลอง
1.นำใบเตยมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ
2.เปิดแก๊สแล้วเบาไฟให้อ่อนที่สุด
3.นำใบเตยและแอลกอฮอล์ใส่ในหม้อ แล้วใส่น้ำตามลงไป เคี่ยวไปเรื่อยๆจนมีสีและกลิ่นออก

สูตรที่ 3 เปลือกและใบมะกรูด
วิธีการทดลอง
1.ฉีกเปลือกและใบให้เป็นชิ้นเล็กๆ
2.เปิดแก๊สแล้วเบาไฟให้อ่อนที่สุด
3.นำเปลือกและใบที่ฉีกแล้วใส่ในหม้อ แล้วใส่น้ำต่อไป เคี่ยวไปเรื่อยๆจนมีสีและกลิ่นออก

สูตรที่ 4 เปลือกส้มและน้ำส้มสายชู
วิธีการทดลอง
1.นำเปลือกส้มที่เราปลอกมาใส่ภาชนะ
2.เทน้ำส้มสายชูให้ท่วมแล้วปิดฝาทิ้งไว้ 2 อาทิตย์
3.นำน้ำที่ได้มาผสมกับน้ำเปล่าในอัตราส่วน 1:1 แล้วนำใส่ขวดสเปรย์

*นำทั้ง 4 สูตรมากรองด้วยผ้าขาวบาง

หมายเหตุ
ควรมีผู้ปกครองอยู่ด้วยตอนที่ทำการทดลองในแต่ละครั้ง


บทที่ 4
ผลการศึกษา

         จากการทดลองเรื่อง สเปรย์ดับกลิ่นสมุนไพรอเนกประสงค์ ทำให้คณะผู้จัดทำได้สำรวจประสิทธิภาพของสเปรย์ดับกลิ่นสมุนไพรอเนกประสงค์จากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพจะเห็นได้ ดังนี้
                                                  
ชนิดของสมุนไพร
ตะไคร้
ครั้งที่ 1 มีกลิ่นเล็กน้อย
ครั้งที่ 2 มีกลิ่นเล็กน้อย
ครั้งที่ 3 ไม่มีกลิ่น

ใบเตย
ครั้งที่ 1 มีกลิ่นเล็กน้อย
ครั้งที่ 2 มีกลิ่นเล็กน้อย
ครั้งที่ 3 ไม่มีกลิ่น

เปลือก-ใบมะกรูด
ครั้งที่ 1 ไม่มีกลิ่น
ครั้งที่ 2 มีกลิ่นเล็กน้อย
ครั้งที่ 3 มีกลิ่นเล็กน้อย

เปลือกส้มและน้ำส้มสายชู
ครั้งที่ 1 ไม่มีกลิ่น
ครั้งที่ 2 มีกลิ่นเล็กน้อย
ครั้งที่ 3 มีกลิ่นเล็กน้อย

         จากการทดลองสรุปได้ว่า สเปรย์ดับกลิ่นสมุนไพรอเนกประสงค์กลิ่นตะไคร้สามารถดับกลิ่นได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ฉีด เพราะขณะสกัดสารคลอโรฟิลล์จากตะไคร้มีสีและกลิ่นออกมา เปลือก-ใบมะกรูดและเปลือกส้มและน้ำส้มสายชูใช้ระยะเวลาที่สั้นกว่าสมุนไพรอีก 2 ชนิด คือ ตะไคร้กับใบเตย



บทที่ 5
สรุปและอภิปรายผลการศึกษา

•สรุปผลการศึกษา
         สรุปได้ว่า สารสกัดสมุนไพรจากตะไคร้และเปลือก-ใบมะกรูดในปริมาณรวมกัน 40 กรัม ต่อ 200 ลูกบาศก์เซนติเมตร สามารถกำจัดกลิ่นห้องน้ำและบริเวณบ้านได้ดีที่สุด

•ประโยชน์ที่ได้จากการทำโครงงาน
-สามารถดับกลิ่นห้องน้ำและบริเวณอื่นได้ดี
-ประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำ

•ข้อเสนอแนะ
ควรมีผู้ปกครองอยู่ด้วยในขณะที่กำลังทำการทดลอง

งานอดิเรก My hobby

ดูซีรี่ย์จีน-ไต้หวัน

การดูซีรี่ย์ถือเป็นสิ่งที่ชอบที่สุดว่างก็ต้องดู ไม่ว่าจะดูวนไปวนมากี่รอบอะนะ555
มีหลายเรื่อง เช่น













เรื่อง 三生三世十里桃花 Three Lives Three Worlds,Ten Miles of Peach Blossoms 
สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบหลี่ 















เรื่อง 微微一笑很倾城 Just One Smile Is Very Alluring,A Smile is Beautiful Love
เวยเวย เธอยิ้มทีโลกละลาย














เรื่อง 特工皇妃楚乔传 Princess Agents 
ฉู่เฉียว จอมใจจารชน














เรื่อง 兰陵王妃 第集 Princess of Lanling King
ศึกรักลิขิตสวรรค์,หลางหลินหวาง

















เรื่อง
 丽姬传 The King's Woman 
เล่ห์รักบัลลังก์เลือด,ลี่จี จอมใจแห่งราชัน,ตำนานลี่จี



เล่นเกมส์

การเล่นเกมส์ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ฉันชอบทำละ มีหลายเกมส์นะ
ตังอย่าง เช่น
















เกมส์ Minecraft









เกมส์ The sim freeplay


อ่านนิยาย

การอ่านนิยายก็เป็นสิ่งที่ฉันชอบ เพราะจะรู้เนื้อเรื่องของซีรี่ย์ที่จะดู
ปล.คนอะไรชอบสปอยด้วยเอง //เรานี่ไงงง










เรื่อง 蔓蔓青萝 Man Man Qing Lou

ม่านม่านชิงหลัว 



เรื่อง 三生三世十里桃花 Three Lives Three Worlds,Ten Miles of Peach Blossoms 
สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบหลี่ 















เรื่อง 
三生三世, 枕上书 Three Lives Three Worlds,The Pillow Book
สามชาติสามภพลิขิตเหนือเขนย